30.7.11

สรุปฎีกาของ อ.ประเสริฐ ( ชุดเก็งข้อสอบ )


ฎีกาที่ ๕๕๕๓ / ๒๕๔๒
การบอกกล่าวการจำนอง








ในกรณีเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนอง   กฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าว

เป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้และต้องกำหนดเวลาอันสมควรเพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง    การ

บอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่ผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อน  จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้   การบอกกล่าวดังกล่าว

เป็นการแสดงเจตนาที่ต้องมีผู้รับการแสดงเจตนาซึ่งกฎหมายกำหนดคือผู้จำนอง   ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ส.ผู้จำ

นองถึงแก่กรรมก่อนโจทก์มีหนังสือบอกกล่าว   แม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำ

นองที่ชอบด้วย ปพพ. มาตรา ๗๒๘
















เมื่อ ส. ผู้จำนองถึงแก่กรรมมรดกรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดย่อมตกทอดแก่ทายาทของ ส.

ตาม ปพพ. มาตรา ๑๕๙๙, ๑๖๐๐  ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว  หากโจทกืประสงค์จะบังคับจำนองต้องมีจด

หมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้า ๑ เดือนก่อน  ตาม ปพพ. มาตรา ๗๓๕       ถ้ายังไม่ปรากฎว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอน

ทรัพย์สินซึ่งจำนอง    แต่ ส. ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก    โจทก์ต้องบอกกล่าวเป็นจดหมายหรือหนังสือล่วง

หน้าอย่างน้อย ๑ เดือนแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมียนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองจึงจะฟ้องบังคับจำนองได้        เมื่อ

โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้จำนองก่อนฟ้อง   และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยถือไม่ได้ว่า

เป้นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย    โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง















































ฎีกาที่ ๓๖๒๙ / ๒๕๓๘
ไม่ผิดลักทรัพย์








ผู้เสียหายส่งธนบัตรฉบับละ ๑๐๐ บาท ให้แก่จำเลย  เพื่อชำระหนี้ค่าโดยสารรถเป็นเงิน ๕ บาท  ถือว่า

ผู้เสียหายมอบการครอบครองธนบัตรดังกล่าวให้แก่จำเลย   การที่จำเลยไม่ได้ทอนเงินให้ทันทีหรือแม้ไม่มีเจตนาจะ

ทอนเงินให้โดยจะเอาเงินที่เหลือจำนวน ๙๕ บาท เป็นประโยชน์ของตนโดยทุจริต  ก็ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

เพราะเจตนาทุจริตเกิดขึ้นภ่ยหลังที่ธนบัตรอยู่ในความครอบครองของจำเลยแล้ว
















































ฎีกาที่ ๖๐๙ / ๒๕๓๖
ไม่ผิดฉ้อโกง








จำเลยกับพวกได้หลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้ได้ไปซึ่งหนังสือรับรองการทำ

ประโยชน์ ( น.ส.๓ ก ) ซึ่งเป็นของจำเลย  และจำเลยนำมามอบให้โจทก์ร่วมยึดถือไว้เป็นประกันตามสัญญาจะซื้อ

ขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว  ซึ่งโจทก์ร่วมได้ชำระราคาที่ดินให้จำเลยไปครบถ้วนแล้ว

โดยจำเลยหลอกลวงว่าจะนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยไปเป็นประกันที่ศาล โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึง

มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยไป ความจริงจำเลยไม่ได้มีคดีเป็นประกันที่ศาล  แต่เมื่อได้ความว่า

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ยังเป็นของจำเลยเอง     จึงยังไม่อาจถือว่าจำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ร่วม

จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
























































ฎีกาที่ ๒๗๐๕ / ๒๕๔๓
















แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ( น.ส.๓) เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียว   แต่ตามสภาพเป็นวัตถุมี

รูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้     จึงเป็นทั้งทรัพย์และทรัพย์สิน ตาม ปพพ. มาตรา ๑๓๗  , ๑๓๘













































ฎีกาที่ ๓๐๗๔ / ๒๕๓๙
ไม่ผิดฉ้อโกงประชาชน








จำเลยโดยทุจริตหลอกลวงประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้เสียหายว่าจำเลยเป็นคนทรงเจ้าสามารถทำพิธี

เสริมดวงชะตาและทำการขจัดสิ่งชั่วร้ายต่างๆให้กลายเป็นดีได้   จำเลยชักชวนแนะนำให้ผู้เสียหายซื้อบ้าน ที่ดิน

และคอนโดมิเนียมจากผู้เสียหาย   ต่อมาจำเลยกล่าวหลอกลวงผู้เสียหายทั้ง ๕ อีกว่าผู้เสียหายทั้ง ๕ ดวงไม่ดีต้อง

ซื้อผ้ายันต์ เครื่องราง ของขลังจากจำเลยไปบูชาดวงจะดีขึ้น    และทำให้ผู้เสียหายทั้ง ๕ ทำมาค้าขายได้ดีและร่ำ

รวย   ผู้เสียหายเชื่อตามคำหลอกลวงของจำเลย จึงให้เงินและทรัพย์สินรวม ๖๐ รายการแก่จำเลยเพื่อแลกเปลี่ยน

กับผ้ายันต์ เครื่องของขลังต่างๆซึ่งความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถทำพิธีเสริมดวงชะตา หรือขจัดสิ่งชั่วร้ายหรือกระ

ทำการใดๆตามที่กล่าวต่อผู้เสียหายทั้ง ๕ ได้   การกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

เนื่องจากว่าการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นคำยืนยันเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนทั้งสิ้น   คำยืนยันดังกล่าวไม่เป็น

คำหลอกลวง  แต่เป็นคำคาดการณ์ที่ผู้เสียหายทั้ง ๕ เข้าทำพิธีตามคำแนะนำและเสียค่าใช้จ่าย   จึงมิได้เป็นผลจาก

การหลอกลวง   จำเลยจึงไม่มีความผิด























































ผู้ค้ำประกัน
( ม. ๖๘๐  , ๖๘๘  ,  ๖๘๙  ,  ๖๙๐  ๖๙๑  )








 -   ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม













 -   ผู้ค้ำประกันทำสัญญารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมแล้ว    ( ไม่สามารถนำ  ม. ๖๘๘ , ๖๘๙ , ๖๙๐  มาใช้

บังคับไม่ได้     แต่สามารถยกเอาอายุความของลูกหนี้เป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ได้ )









 -   ฎีกาที่ ๓๗๙๕ / ๒๕๔๐    จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเท่านั้น   หาใช่เป็นลูก

หนี้ร่วมในการเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทไม่    ผู้ค้ำประกันจึงเพียงแต่ไม่อาจยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันขึ้น

ต่อเจ้าหนี้เท่านั้น     แต่ผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ ตาม ปพพ. ม.๖๙๔ ดังนี้  เมื่อสิทธิ

เรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ ส. ขาดอายุความตาม ปพพ. ม. ๑๗๕๔ วรรค ๒ แล้ว  จำเลยซี่งเป็นผู้ค้ำประ

กันย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทกืได้















       เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้อันเนื่องมาจากการเลิกสัญญา   แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความ

ตาย   เจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องทายาทของลูกหนี้ภายใน ๑ ปี  นับแต่ได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตาม ปพพ.ม. ๑๗๕๔ 

วรรค ๓




















 -   ฎีกาที่ ๒๔๗ / ๒๕๔๑  จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน อ.  แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็เป็นการยอม

รับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ตาม  ปพพ.ม. ๖๙๑        มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ม. ๒๙๑

จำเลยคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตาม ม. ๖๘๘ , ๖๘๙ และ ม. ๖๙๐  ขึ้นต่อสู้เท่านั้น     นอกนั้นมิได้เสียสิทธิ

ของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด    ดังนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิตาม ม. ๖๙๔ ที่ยังอาจยก

ข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย  ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่จะแสดงให้

เห็นว่าข้อต่อสู้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ซึ่งค้ำประกันจะยกขึ้นได้ต้องไม่เกี่ยวกับเรื่องอายุความมรดก  ทั้งในคดีนี้ไม่ใช่

คดีมรดกเป็นเรื่องโจทก์จำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยย่อมใช้สิทธิตาม ม. ๖๙๔ ได้  จึงไม่เกี่ยวกับว่า

จำเลยจะเป็นบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๗๕๕ หรือไม่    เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้อง

ต่อกองมรดกของ อ. ภายใน ๑ ปี  นับแต่ทราบว่า อ. ถึงแก่ความตาย  สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ อ.

จึงขาดอายุความตาม ม. ๑๗๕๔ วรรค ๓  จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้อง








 -   ฎีกาที่  ๒๕๖๙ / ๒๕๔๑      แม้ ปพพ.มาตรา ๑๒๗๒     จะบัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเรียกหนี้สินเฉพาะ

ที่ห้างหุ้นส่วนหรือผู้ที่เป็นลูกหนี้อยู่ในฐานะเช่นนั้นเมื่อพ้นกำหนด ๒ ปี  นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีก็ตาม

แต่ตามมาตรา ๖๙๔ ก็ได้บัญญัติไว้ว่านอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันหรือจำเลยที่ ๑  มีต่อเจ้าหนี้หรือโจทก์นั้น  ผู้ค้ำ

ประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้หรือห้างดังกล่าวมีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย     แม้สัญญาข้อ ๒ และข้อ 

ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันจะปรากฎว่าจำเลยที่ ๑    ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งเป็นลูกหนี้

ในหนี้สินที่ลูกหนี้ยังคงมีอยู่ต่อธนาคารโจทก์ก็ตาม  ก็หาทำให้จำเลยที่ ๑ ผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้น

และหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ซึ่งห้างลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตาม ม. ๖๙๔ ไม่     ฉะนั้นจำเลยที่ ๑

ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของห้างจึงชอบที่จะยกอายุความ ๒ ปี  ตาม ม. ๑๒๗๒ ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้  และเมื่อนับแต่วัน

ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ก. จนถึงวันฟ้องเกินกำหนด  ๒ ปีแล้ว   ฟ้องโจทก์เกี่ยว

กับจำเลยที่    จึงขาดอายุความ
















 -   ฎีกาที่  ๑๗๘๕ / ๒๕๐๕    ระบุข้อกำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน     เป็นหนทางแก้ที่ผู้ค้ำประกัน

อ้างเอาอายุความยกเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ได้























































ห้างหุ้นส่วน
( ม. ๑๐๗๗  ) มี        ประเภท









๑.   ห้างหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด














๒.   ห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด













 -   กรรมการผู้จัดการมีอำนาจในการดำเนินการกิจการ ( ในห้างหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด )




 -   เมื่อห้างส่วนส่วนจำกัดผิดนัดไม่ชำระหนี้   ( เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกบุคคลให้ชำระหนี้ได้ทันที )   มี

บุคคลดังนี้. คือ  ( ฎีกาที่ ๕๙๐ / ๒๕๒๐    )

















(๑).  ห้างหุ้นส่วนจำกัด
















(๒).   หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด  หรือ กรรมการผู้จัดการ







 -   จะฟ้องหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำพวกจำกัด

ความรับผิด   (  ต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน ตาม ม. ๑๐๘๘ )  ( ฎีกาที่ ๕๘๔๔ / ๒๕๓๗ )














































วางยาพิษเพื่อฆ่าพระ
















 -   ฎีกาที่ ๒๘๓๒ / ๒๕๓๘























































มอบสร้อยคอทองคอ (ตกทอง )













 -   ฎีกาที่ ๕๔๓๙ / ๒๕๔๑















 -   ฎีกาที่ ๔๒๐๘ / ๒๕๒๕








































จำนอง









 -   ข้อตกลงในสัญญาจำนอง ตาม ปพพ. ม. ๗๑๑   ( ผู้จำนองกับผู้รับจำนอง )







 -   ฎีกาที่  ๗๐๐๗ / ๒๕๐๖















 -   ฎีกาที่  ๑๕๑๐ / ๒๕๔๒  ( มอบอำนาจโอนทรัพย์จำนองชำระหนี้ให้แก่โจทก์ )






 -   ผลคือ ไม่สมบูรณ์ตาม ปพพ.ม. ๗๑๑ เท่านั้น  ( เฉพาะข้อตกลง )









 -   ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว   แต่ลูกหนี้ไม่ชำระและได้ตกลงกันไว้  สามารถบังคับได้ตาม ม. ๓๒๑ ( ฎีกาที่

๓๐๐ / ๒๕๐๖   ,   ฎีกาที่  ๒๙๘ / ๒๕๑๗





























































เช่าทรัพย์









 -   การบอกเลิกสัญญาเช่าทรัพย์ เพราะผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า  ต้องปฎิบัติตาม ม. ๕๖๐





 -   การบอกเลิกสัญญาเช่าทรัพย์ ที่ไม่มีกำหนดเวลา  ต้องปฎิบัติตาม ม. ๕๖๖







 -   ฎีกาที่  ๔๕๘๕ / ๒๕๓๓   เทียบ ฎีกาที่ ๓๖๓ / ๒๕๐๙   ( สัญญาเช่าทำเป็นหนังสือเกินกว่า ๓ ปี )



 -   ฎีกาที่  ๔๑๐๖ / ๒๕๒๘   เทียบ ฎีกาที่ ๗๓๗ / ๒๕๐๑  เดิม ถูกพิพากษากลับโดย ฎีกาที่ ๒๑๙๖ / ๒๕๔๕

( สัญญาเช่าเกินกว่า ๓ ปี โดยไม่ได้จดทะเบียน )




























































ลักทรัพย์









 -   ฎีกาที่  ๗๒๖๔ / ๒๕๔๓    จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในมูลหนี้มาตรา ๓๔๑ ( ฉ้อโกง )






 -   ฎีกาที่  ๙๐๙๓ / ๒๕๔๔    โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เช่า  โดยได้ทำสัญญาประนีประ

นอมยอมความกัน โดยตกลงกันว่าจำเลยยกเครื่องปรับอากาศที่อยู่ในบ้านเช่าให้โจทก์ไป  ต่อมาจำเลยกลับได้เอา

เครื่องปรับอากาศดังกล่าวไปเป็นของตนเอง   โจทก์จึงฟ้องบังคับจำเลยในฐานความผิดลักทรัพย์  ( จำเลยผิดตาม

มาตรา ๓๓๔  เพราะเครื่องปรับอากาศได้ตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว    เมื่อจำ

เลยเอาไปจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์      แล้วการที่จำเลยรื้อเครื่องปรับอากาศออกทำให้ฝาบ้านขูดขีดเสียหายนั้น

ไม่เป็นการทำให้เสียทรัพย์แต่อย่างใด เพราะว่าเป็นผลธรรมดาที่จะเสียหายได้








 -   ฎีกาที่ ๕๘ / ๒๕๔๖   ตัวผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปเฉี่ยวกับรถยนต์เก๋ง  ทำให้รถล้มลงผู้เสียหายศอก

กระแทกกับพื้น     ต่อมาจำเลยที่ ๑ , ๒ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์มาประสบเหตุจึงทำท่าทีว่าจะช่วยเหลือไปส่งที่บ้าน

โดยจำเลยที่ ๑ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย     ส่วนจำเลยที่ ๒ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของตนโดยได้ให้ผู้

เสียหายนั่งซ้อนท้ายไปด้วย โดยให้จำเลยที่ ๑ ขับนำหน้า  ส่วนจำเลยที่ ๒ นั้นได้ตามหลัง     ต่อมาได้มาถึงทางแยก

เข้าบ้านผู้เสียหาย  จำเลยที่ ๑ กลับได้เร่งเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายหลบหนีไป   เมื่อผู้เสียหายได้พบ

เห็นดังกล่าวจึงได้บอกให้จำเลยที่ ๒ ขับขี่ติดตามไป         แต่จำเลยที่ ๒ ได้ใช้ศอกกระแทกผู้เสียหายจนตกจากรถ

แล้วได้ขับขี่หลบหนีไป    ดังนี้จำเลยที่ ๑,๒ จึงมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์  ( ตามมาตรา ๓๓๙ + ๘๓ )















































มอบอำนาจจากห้างหุ้นส่วนให้ฟ้องแทน





 -   ฎีกาที่  ๔๙๕๓ / ๒๕๓๖   หจก.มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีเช็ค  โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับคดีเช็ค   โจทก์

ซึ่งได้รับมอบอำนาจจาก หจก.นั้น   โดย ส. กรรมการผู้จัดการได้มอบอำนาจลงวันที่ในใบมอบอำนาจ   แล้วจากที่ ส.

ลาออกจากกรรมการผู้จัดการ   ( มาตรา ๑๑๖๗  ,  ๘๒๖  ,  ๘๒๗ , ๑๑๕๐  ,  ๑๑๑๑  ,  ๓๘๖  ,  ๑๐๒๓ ) ฎีกาที่ ๔๙๔๙

 /  ๒๕๓๖ .










































เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ +  โดยทุจริต





 -   ฎีกาที่  ๑๑๗๘ / ๒๕๓๙  จำเลยกับพวกขับขี่รถจักรยานยนต์สวนทางกับผู้ใช้รถใช้ถนน โดยได้ใช้ก้อนกินซึ่ง

มีขนาดโตเท่ากับกำปั้นขว้างรถยนต์บรรทุกที่ผ่านมาทำหใกระจกรถแตกได้รับความเสียหาย   และรถโดยสารมีผู้เสีย

หายนั่งโดยสารมาด้วย เสียหลักพลิกคว่ำ    ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัส    จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดย

เจตนา ตามมาตรา  ๒๘๘ + ๘๐  และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา  ๓๕๘








ความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานตามาตรา  ๑๔๓  ,  ๑๔๘  ,  ๑๔๙






 -   ถ้าราษฎรให้สินบน   (  ผิดมาตรา  ๑๔๔  )












 -   เจ้าพนักงานเรียกสินบน  (  ผิดตามมาตรา  ๑๔๓  ,  ๑๔๙   )      และจะเกี่ยวข้องกับการริบทรัพย์ทรัพย์สินตาม

มาตรา  ๓๔  ด้วย




















ข้อแตกต่างระหว่างมาตรา  ๑๔๘   กับมาตรา  ๑๔๙


























มาตรา  ๑๔๘ มาตรา  ๑๔๙

  เจ้าพนักงานใช้อำนาจตำแหน่งโดยมิชอบ
  เจ้าพนักงานปฎิบัติหน้าที่โดยชอบ  แล้วเรียกเอาเงิน

 







เพื่อจะไม่ปฎิบัติหน้าที่




 

                                     



 -   ฎีกาที่  ๓๓๐๙ / ๒๕๔๑   คดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง  ที่ได้ใช้บุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่ตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ทางหลวงเอง ไปเรียกรับเงินรถยนต์บรรทุกที่วิ่งผ่านไปมา        สำหรับรถยนต์คันที่ถูกต้อง( ไม่มีความผิด )จะผิดมาตรา

๑๔๘         แต่สำหรับรถยนต์คันที่ผิดกฎหมาย ( มีความผิด )  จะผิดกฎหมายอาญามาตรา  ๑๔๙ 





 -   ฎีกาที่  ๕๐๙๖ / ๒๕๔๐  จำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ     แต่ได้มาหาผู้เสียหายโดยอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำ

รวจ  พร้อมกับได้บอกผู้เสียหายว่ามีรายชื่ออยู่ในบัญชีดำ  ถ้าเอาเงินจำนวน ๒,๐๐๐ บาทมาให้จะลบชื่อออกจากบัญชีดัง

กล่าว   ผู้เสียหายจึงมอบเงินให้กับจำเลยไป   (  จำเลยมีความผิดตามมาตรา  ๑๔๕  ,  ๓๓๗  )





 -   ฎีกาที่  ๒๖๔๕ / ๒๕๔๓   จำเลยที่ ๑ ไปชกต่อยผู้เสียหายเพื่อบังคับให้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน   (  ถือว่าจำ

เลยมีความผิดตามมาตรา  ๓๓๗    )   ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน )  และผิดตามมาตรา  ๒๙๕  อีกกระทงหนึ่ง


 -   ฎีกาที่  ๕๔๘๓ / ๒๕๔๓   (  ไม้เป็นประโยชน์ในลักษณะทรัพย์สิน  )     จำเลยพกพาอาวุธปืนไปที่ร้านอาหาร

ของผู้เสียหาย    แล้วร้องบอกนาย จ.ลูกจ้างของผู้เสียหายออกจากร้านไป     ถ้าไม่ไปจะปิดร้านใส่กุญแจ      การกระทำ

ดังกล่าวของจำเลยที่ให้นาย จ.ออกจากร้านไปนั้น (  ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชกตามมาตรา ๓๓๗ )  โดยไม่ได้เป็นใน

ลักษณะประโยชน์ที่เป็นทรัพย์สินแต่อย่างใด 











No comments:

Post a Comment