30.7.11

สรุป วิชา กฎหมายล้มละลาย

สรุป วิชา กฎหมายล้มละลาย

v การพิจารณาคดีล้มละลาย

1. บทนิยาม (มาตรา 6)
                      คำว่า เจ้าหนี้มีประกัน”  หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับเจ้าหนี้จำนำ
                     
                      - ดังนั้น หากมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ใช่เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ไม่ถือเป็นเจ้าหนี้มีประกัน (.737/2542)
                   .737/2542 โจทก์มีสิทธิเหนือที่ดินของนายประกันที่จำเลยนำมาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกัน ตามมาตรา 6
                            
        - สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ต้องเป็นสิทธิในทางจำนองหรือจำนำหรือสิทธิยึดหน่วงหรือบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ (.175/2529,.3293/2544)
                    .175/2529 โจทก์เปนตัวแทนซื้อหุ้นให้แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวการและโจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นที่จำเลยสั่งซื้อแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นที่ซื้อแทนจำเลยนั้น จนกว่าจำเลยจะชำระค่าหุ้นที่โจทก์ได้ออกทดรองไป โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือใบหุ้นของจำเลย

                    .3293/2544 สมุดเงินฝากธนาคารไม่ใช่ลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสาร ข้อตกลงที่ลูกหนี้มอบสมุดเงินฝากให้ผู้ร้องยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ต่อผู้ร้องจึงไม่ใช่จำนำตาม ป.แพ่ง มาตรา 750 ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกัน     

                 - ถ้าสิทธิเหนือทรัพย์สินระงับ ก็ไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกัน (.2517/2534)
                   .2517/2534 การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนำให้จำเลยเช่าเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินจำนำย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับไปสู่การครอบครองของผู้จำนำ ตาม ป.แพ่ง มาตรา 769(2) สิทธิจำนำของผู้ร้องจึงระงับสิ้นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้ผู้รับจำนำที่จะร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 287

                       คำว่า มติ”  หมายความว่า มติของเจ้าหนี้ ฝ่ายที่มีจำนวนหนี้ข้างมาก ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่น เข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น
- มติตาม พ...ล้มละลาย ถือเอาจำนวนหนี้ข้างมากของเจ้าหนี้เป็นสำคัญ
- มติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจำนวนหนี้ข้างมาก เจ้าหนี้นั้นได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะ
ให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้ และ เจ้าหนี้นั้นได้ ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น
                 - มติ นี้ ใช้สำหรับการลงมติในหัวข้อการประชุมเจ้าหนี้ทั่วไป ไม่ใช้ในการลงมติในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ไม่ว่าก่อนหรือหลังล้มละลาย ซึ่ง มาตรา 43 วรรคสาม และมาตรา 63 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ใช้มติพิเศษ    

                 คำว่า มติพิเศษ”  หมายความว่า มติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากและมีจำนวนหนี้เท่ากับสามในสี่แห่ง จำนวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น
                 - มติพิเศษนี้ ใช้เฉพาะการลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเพื่อปรึกษาว่าจะยอมรับคำขอประนอมหนี้หรือไม่ตาม มาตรา 45 วรรคสาม และการลงมติเพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้หลังล้มละลายตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

  2. มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีล้มละลาย
                   มีบัญญัติไว้ใน มาตรา 7 ว่า ลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวอาจถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายได้ ถ้าลูกหนี้นั้นมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร หรือประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยตนเอง หรือโดยตัวแทนในขณะที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย หรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้นดังนั้น มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีล้มละลายจึงประกอบด้วย
                   ข้อ 1 ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ที่ว่า หนี้สินล้นพ้นตัว หมายความว่า ลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ มีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้นั่นเอง แต่การจะพิสูจน์ว่าบุคคลใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้นเป็นการยาก กฎหมายจึงบัญญัติบทสันนิษฐานไว้ว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไว้ในมาตรา 8                   
                        เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ต้องประกอบด้วยเหตุใน มาตรา 9 ส่วนมาตรา 8 เป็นเพียงบทสันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ที่ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นได้ว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว  โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้องว่าลูกหนี้ได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 8 เพียงแต่บรรยายว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็เพียงพอแล้ว

                        บทสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามมาตรา 8 ที่สำคัญ มีดังนี้

                   มาตรา 8 ถ้ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
                        (2) ถ้าลูกหนี้โอนหรือส่งมอบทรัพย์สินของตนไปโดยการแสดงเจตนาลวงหรือโดยการฉ้อฉล ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
- คำว่า การแสดงเจตนาลวงนี้ มีความหมายว่า การที่ลูกหนี้แสดงเจตนาไม่ตรงกับความจริงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อลวงคนอื่น ซึ่งตรงกับ ความหมายของการแสดงเจตนาลวงใน ป.แพ่ง มาตรา 155 นั่นเอง (.226/2520)
-                  ส่วนคำว่า การฉ้อฉลนี้ หมายถึง นิติกรรมใดๆอันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบซึ่งตรงกับความหมายของกลฉ้อฉลใน ป.แพ่ง มาตรา237 นั่นเอง (.1868-1869/2516)                    

                      .226/2520 โจทก์จดทะเบียนขายที่ดินให้แก่จำเลยเพื่อลวงสามี ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ

โจทก์เพื่อมิให้แบ่งทรัพย์  เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณี โดยมิได้โอนขายกันจริง จึงตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 155


                  .1868-1869/2516 นิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงที่จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 หมายความว่าลูกหนี้ได้กระทำให้กองทรัพย์สินของตนลดน้อยลงไม่พอที่จะใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนีได้

                        (4) ถ้าลูกหนี้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
                                          . ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอกราชอาณาจักร
                                          . ไปเสียจากเคหะสถานที่เคยอยู่ หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหะสถานหรือหลบไป หรือวิธีอื่น หรือปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ(.534/2504,.159/2519,.4732/2543)
                                           . ยักย้ายทรัพย์ไปให้พ้นอำนาจศาล
                                           . ยอมตนให้ต้องคำพิพากษาซึ่งบังคับให้ชำระเงินซึ่งตนไม่ควรต้องชำระ
                  
                        - กรณีตาม มาตรา 8(4) ก ข ค ง นี้ หลัก มีว่า ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ถ้ากระทำโดยมีเจตนาอย่างอื่น เช่น ปิดสถานที่ประกอบธุรกิจชั่วคราวเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็ไม่เข้าข้อนี้

     (5) ถ้าลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี หรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้
         
                                       - ความหมายในข้อนี้มี 2 ประการ คือ ประการแรกลูกหนี้ถูกฟ้องตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง แล้วถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี หรืออีกประการหนึ่ง ลูกหนี้ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แล้วไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ดังกล่าวแล้วแสดงว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอใช้หนี้ เพราะว่าถ้ามีทรัพย์สินพอคงไม่ถูกยึดทรัพย์  (.887/2535,.1820/2531,.5429/2543)

                   .887/2535 เมื่อโจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดาตลาดแล้วได้เงินมาชำระหนี้โจทก์ยังไม่ครบถ้วน โดยคำนวณหนี้ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2531 (วันฟ้อง) ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ทั้งสิ้นจำนวน 1,531,656.85 บาท จำเลยจึงเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท กรณีที่จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ..2483 มาตรา 8 (5) ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัว โจทก์จึงฟ้องจำเลยจำเลยให้ล้มละลายได้ โดยไม่จำต้องมีหนังสือทวง ถามให้จำเลยชำระหนี้ก่อนตามนัยแห่งพระราชบัญญัติล้มละ พ.. 2483 มาตรา 8 (9) อีก (ปัจจุบัน 1,000,000 บาท)

.5035/2541 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนไม่
น้อยกว่า 500,000 บาท และจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และจำเลยทั้งสามไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ซึ่งต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ...ล้มละลาย พ..2483 มาตรา 8 (5) ว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามเด็ดขาด ตามมาตรา14
    
  .5429/2543 ที่ดินที่จำเลยรับโอนมาภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายเป็นทรัพย์สิน
ที่โจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ได้ ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าต้องเป็นทรัพย์สินก่อนฟ้องคดีล้มละลาย จำเลยจึงมิใช่บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว

               (9) ถ้าลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
 
                               -  คำว่า ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วันหมายความว่าในระหว่างการทวงถามครั้งแรกกับครั้งที่สอง ต้องมีระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน มิใช่ว่าต้องรอไว้อีก 30 วันหลังจากทวงถามครั้งที่ 2 แล้วจึงฟ้องคดีได้ (.790/2510)
                    
.737/2542 จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง
 มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยไม่ชำระหนี้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ พฤติการณ์ของจำเลยจึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม
 ... ล้มละลายฯ มาตรา 8 (5) (9)

                               - ข้อเท็จจริงตามอนุมาตรา ต่างๆ ในมาตรา 8 เป็นเอกเทศของตัวเองหมายความว่า ถ้ามีข้อเท็จจริงเหล่านี้เกิดขึ้น ในอนุมาตราใดมาตราหนึ่งแล้ว หรือโจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้วก็เข้าข้อสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
                               - ในการที่ศาลจะมีคำสั่งให้บุคคลใดล้มละลายศาลจะอาศัยลำพังแต่ข้อเท็จจริงอันเป็นข้อสันนิษฐานของกฏหมายว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8 เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ยังต้องพิเคราะห์เหตุผลอื่นมาประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริง เมื่อจำเลยยังมีทรัพย์สินที่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว  (.508/2536)

                     .508/2536 การที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายนั้น มิใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย  พ..2483  มาตรา 8   แต่เพียงอย่างเดียวแต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นมาประกอบที่พอแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริง  ดังนั้นเมื่อจำเลยยังมีทรัพย์สินที่สามารถจะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

                     ข้อ 2 ลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ลูกหนี้ที่จะถูกฟ้องให้ล้มละลายได้จะต้องมีภูมิลำเราอยู่ในราชอาณาจักร เพราะเหตุว่าอำนาจศาลไทย มีเขตอำนาจอยู่ในราชอาณาจักรเท่านั้น ไม่มีอำนาจไปบังคับกับบุคคลหรือทรัพย์สินซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักรไทย อีกประการหนึ่ง ลักษณะของกฏหมายล้มละลายต้องการจะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อใช้หนี้เป็นสำคัญ ถ้าลูกหนี้ไม่มีภูมิลำเราอยู่ในราชอาณาจักร โอกาสที่จะรวบรวมทรัพย์สินคงจะไม่มี
                               อนึ่ง แม้ว่าลูกหนี้จะไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ก็อาจถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายได้ ถ้าลูกหนี้เคยมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือประกอบธุรกิจในราชอาณาจักร์ไม่ว่าโดยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะที่มีการขอให้ล้มละลาย แม้ลูกหนี้จะย้ายออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้หมายความว่า เจ้าหนี้ยังมีเวลาถึง 1 ปี ที่จะติดตามฟ้องลุกหนี้ให้ล้มละลายได้ทั้งนี้นอกจากเพื่อเป็นการป้องกันการหลบหนีของลูกหนี้แล้ว ก็เพื่อผลต่อการรวบรวมทรัพย์ของลุกหนี้เป็นสำคัญ



3. เจ้าหนี้ไม่มีประกันฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลาย (มาตรา 9)
          มาตรา 9 เป็นหลักเกณฑ์การฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้ธรรมดา ซึ่งมีอยู่ 3 ประการ คือ
                    (1) “ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวข้อนี้เป็นหลักเกณฑ์ทีได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีล้มละลาย คำว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คือ ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ หรือลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน นอกจากนี้ หากลุกหนี้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ก็สันนิษฐานได้ว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
                   (2) “ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท
                             - คำว่า ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หมายความว่า เป็นหนี้ตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป
                             - ถ้ามีเจ้าหนี้หลายคน คนละไม่ถึงหนึ่งล้านบาท แต่เมื่อรวมจำนวนหนี้กันแล้วเป็นเงินไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท เจ้าหนี้เหล่านั้นก็สามารถเข้าชื่อร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่า มูลหนี้นั้นเหมือนกันหรือไม่ (.3242/2543 , .835/2545)

                   .3242/2543 แม้จำเลยที่ 4 จะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ที่มิใช่ทรัพย์มรดก
ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่นายแดงก่อขึ้นเองหากนายแดงยังคงมีชีวิตอยู่ นายแดงอาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้นายแดงจึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของนายแดงไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยที่ 4 ผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของนายแดง โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายแดงให้ล้มละลายไม่ได้ แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของนายแดงตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.. 2483 มาตรา 82
                  
                   .835/2545 โจทก์เคยนำหนี้ภาษีการค้ามาฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง เพราะแม้จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่มีเหตุอื่นไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ต่อมาโจทก์นำหนี้ภาษีการค้าดังกล่าวรวมกับหนี้เงินเพิ่มภาษีการค้ากับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลภาษีอากร คดีถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้อง การที่โจทก์นำหนี้ภาษีการค้าจำนวนเดิมรวมกับหนี้จำนวนใหม่ตามคำพิพากษษดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายอีกจึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148 ประกอบ พ..บ ล้มละลาย มาตรา 153 (ปัจจุบัน เป็น พ...จัดตั้งศาลล้มฯ มาตรา 14) ส่วนหนี้เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นหนี้จำนวนใหม่ เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนเพียง 40,000 บาทเศษ ไม่เข้าองค์ประกอบที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตามมาตรา 9(2) พิพากษายกฟ้อง (.7137/2545 วินิจฉัยเช่นเดียวกัน)

(3) “หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
                             - คำว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนหมายความว่า จำนวนหนี้จะต้องแน่นอนหรืออาจ กะคำนวณได้แน่นอน  เช่น ลูกหนี้กู้เงินเจ้าหนี้ไป อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี จำนวนหนี้ที่กำหนดได้ก็คือ ต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระ สามารถคำนวณได้ว่ามีจำนวนเท่าไร จำนวนหนี้นั้นถ้าเป็นหนี้ตามสัญญาก็ไม่มีปัญหา แต่มีหนี้บางอย่างซึ่งไม่แน่นอน เช่นค่าเสียหายในมูลละเมิด  หนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดู หรือหนี้เบี้ยปรับ เป็นหนี้ที่อาจกำหนดได้แน่นอน จนกว่า ศาลจะพิพากษาให้มีการชำระหนี้แล้ว หรือ เป็นหนี้ที่ตกลงกันโดยการรับสภาพหนี้
                             - หนี้ที่มีจำนวนไม่แน่นอนนั้น แม้จะนำไปฟ้องเป็นคดีล้มละลายไม่ได้ แต่เจ้าหนี้ก็อาจนำไปขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โดยศาลจะสั่งคำขอรับชำระหนี้เองว่าเห็นสมควรให้ได้รับชำระหนี้หรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด
                             - คำว่า ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตามจะเห็นว่าแตกต่างกับการฟ้องเป็นคดีแพ่งสามัญ คือถ้าเป็นคดีแพ่งสามัญเจ้าหนี้จะฟ้องคดีได้หนี้นั้นต้องถึงกำหนดชำระ ถ้ายังไม่ถึงกำหนดชำระก็บังคับให้ลูกหนี้ชำระไม่ได้ ที่กฎหมายล้มละลายกำหนดไว้เช่นนั้น ก็โดยถือว่าเมื่อลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วการที่จะรอให้หนี้ถึงกำหนดชำระเสียก่อนแล้วจึงจะฟ้องได้ ก็อาจจะเกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ได้
                             - ทั้งนี้ หนี้ภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินแล้วแต่ยังไม่แจ้งการประเมิน
ให้ลูกหนี้ทราบ ถือว่าเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเพราะถ้าแจ้งให้ลูกหนี้ทราบ ลูกหนี้จะมีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขการประเมิณของเจ้าพนักงานประเมินได้ (.2459/2544) ดังนั้น หากได้แจ้งการประเมินต่อลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามที่กฏหมายกำหนด หรือลูกหนี้ได้อุทธรณ์แล้ว แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ถือว่าหนี้ดังกล่าวนั้นอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน (.3103/2533)  
                            
                   .2459/2544 โจทก์ไม่มีสิทธินำนหี้ภาษีอากรซึ่งยังมิได้มีการประเมินและยังมิได้มีการแจ้งให้จำเลยทราบโดยชอบมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้เนื่องจากเป็นกรณีที่จำเลยไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน ตามมาตรา 9(3) แห่ง พ..บ ล้มละลายฯ เพราะหนี้ภาษีอากรตามฟ้องอาจถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
                  
. 3103/2533 จำเลยที่  1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้ ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าไม่ครบถ้วนและแสดงรายการการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เมื่อเจ้าหน้าที่ของโจทก์เชิญจำเลยที่ 1 ไปพบและหมายเรียกให้ไปไต่สวนกับให้ส่งเอกสารไปตรวจสอบ จำเลยที่ 1 ไม่ไปและไม่ส่งเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินจึงตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและประเมินภาษีเงินได้แล้วแจ้งให้จำเลยที่  1 ทราบ จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ฉะนั้น  ภาษีการค้าและหนี้เงินได้นิติบุคคลจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1),87ทวิ,88,21 เมื่อรวมภาษีทั้งสองประเภทและภาษีบำรุงเทศบาลพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาทเป็นหนี้ที่แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการในระหว่างปีที่ประเมินภาษีให้ล้มละลายได้

-ส่วนหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง ถือว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนแล้ว
นำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้ แม้ว่าคำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม ทั้งนี้เพราะว่าคำพิพากษานั้นมีผลผูกพันคู่ความ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา145 (.3210/2532) แต่หากว่าคดีแพ่งนั้นยังไม่ถึงที่สุด จะถือว่ามีเหตุที่ไม่สมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่นั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่งซึ่งต้องพิจารณากันต่อไป (.177/2531)

                   .3210/2532 แม้หนี้ตามที่โจทก์ฟ้องจะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดแต่คู่ความก็ยังต้องผูกพันในผลของคำพิพากษาจนกว่าคำพิพากษานั้นจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข กลับหรืองดเสีย หนี้ตามคำพิพากษานั้นจึงถือได้ว่าเป็นหนี้ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน

                   .177/2531 นี้ตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ถือได้ว่าเป็นหนี้ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน อันโจทก์อาจนำฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้แต่หนี้ดังกล่าวอาจถูกกลับหรือแก้โดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ข้อเท็จจริงยังไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่จึงยังไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 14

          & หมายเหตุ บุคคลที่มิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้จะฟ้องลุกหนี้เป็นคดีล้มละลายไม่ได้(.1910/2538)

                   .1910/2538 เมื่อบริษัทจดทะเบียนแล้วถือว่าเป็นบุคคลมีสิทธิหน้าที่ต่างหากจากผู้ถือหุ้น กรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหาย บริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นจะฟ้องตาม ป... มาตรา 1169  ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้อง  และเป็นการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้นโจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัท จึงมิได้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

No comments:

Post a Comment