30.7.11

สรุปกฎหมายลักษณะพยาน การรับฟังพยานบุคคล 1

สรุปกฎหมายลักษณะพยาน
การรับฟังพยานบุคคล

ประเด็นที่ 1  ความหมายพยานบอกเล่า
พยานบุคคลหมายถึง  บุคคลที่มาเบิกความต่อศาลและการเบิกความของพยานบุคคลจะเป็นการเบิกความจากความทรงจำของตนจากสิ่งที่ตัวเองได้ประสบพบเห็นมา

ข้อสังเกต 

(1)           พยานบุคคลอาจเป็นพยานวัตถุก็ได้
(2)           บุคคลที่มาพูดหรือติดต่อศาลไม่ได้หมายความว่าเป็นพยานบุคคลเสมอไป  เพราะจะเป็นพยานได้ต้องยื่นระบุบัญชีพยานด้วย(.145/2522,3130/2523)
                วินิจฉัยว่า โจทก์หรือจำเลย  ไม่ได้ยื่นระบุบัญชีพยาน แต่อ้างตนเองเป็นพยานและนำตัวเองเข้าสืบ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  ศาลไม่ยอมให้สืบเพราะไม่ได้ระบุบัญชีพยาน  แม้จะอ้างว่าเป็นโจทก์หรือคู่ความก็ตาม

พยานบุคคลจะเบิกความถึงเหตุการณ์ในอดีต
ตรรกของการเบิกความของพยานบุคคลประกอบด้วย  3  ขั้นตอน
·        การสัมผัสกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
·        การจดจำ
·        การถ่ายทอด
หลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานบุคคลแบ่งได้ 3  หลักคือ
·        ความสามารถในการที่จะเป็นพยาน
·        ลักษณะของความใกล้ชิดกับข้อเท็จจริงของพยาน
·        ลักษณะของการถ่ายทอดข้อเท็จจริง
พยานบอกเล่าตามกฎหมายไทย
มาตรา 95  ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใด  เว้นแต่บุคคลนั้น
                (1)  สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้  และ
                (2)  เป็นผู้ที่ได้เห็น  ได้ยิน  หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง  แต่ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น

บทบัญญัติว่าด้วยการห้ามรับฟังพยานบอกเล่าของไทยต่างจากหลักสากลอยู่หลายประการ
ประการที่ 1  มาตรา 92  ใช้กับพยานบุคคลเท่านั้น  ไม่ใช้กับพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ
พยานบอกเล่าจะมีสิ่งที่สำคัญเกี่ยวเนื่อง  3  สิ่ง
·        ตัวบุคคลที่ไปประสบพบเห็นข้อเท็จจริงหรือที่เรียกว่าผู้บอกเล่า
·        ข้อความที่เขาบอกเล่าซึ่งมีลักษณะเป็นการติดต่อสื่อวารระหว่างผู้บอกเล่ากับพยานบอกเล่า
·        ตัวพยานบอกเล่า
มาตรา 95(2)  ห้ามรับฟังพยานบอกเล่าเฉพาะสื่อที่เป็นบุคคลเท่านั้น  แต่ถ้าบุคคลที่ไปประสบพบเห็นเหตุการณ์และถ่ายทอดลงสื่ออื่นเช่นในเอกสารหรือวัตถุต่างๆ ก็ไม่ต้องห้ามรับฟังตามมาตรา 95(2) เพราะบันทึกดังกล่าวไม่ใช่พยานบุคคล
·        แนวฎีกาถือว่า คำให้การชั้นสอบสวน เป็นพยานบอกเล่า(.3825/2524,2957/2532)
ประการที่ 2  การที่บุคคลมาเป็นพยานแล้วเบิกความถึงคำบอกเล่าของผู้อื่น  หรือเบิกความถึงคำกล่าวหรือคำพูดของคนอื่นไม่ได้หมายความว่าพยานบุคคลนั้นจะเป็นพยานบอกเล่าเสมอไป  ต้องดูจุดประสงค์การนำพยานนั้นมาสืบด้วย เพราะถ้าพยานนั้นเบิกความถึงคำพูดหรือคำกล่าวของคนอื่นเพียงเพื่อพิสูจน์ว่ามีการกล่าวคำพูดนั้นจริงๆเช่นนี้  การนำสืบเพื่อพิสูจน์ความมีอยู่ของคำพูดหรือคำกล่าวนั้น  ดังนั้น  เมื่อตัวพยานบุคคลได้ยินการกล่าวข้อความมาด้วยตนเอง  พยานบุคคลนั้นก็จะเป็นประจักษ์พยาน ไม่ใช่พยานบอกเล่า(.266/2488)

ประการที่ 3  คำบอกเล่าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นแห่งคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นแห่งคดี  ไม่ถือว่าเป็นพยานบอกเล่า
                ฎีกาที่ 304/2500  ตำรวจเป็นพยานเบิกความว่าพอเกิดเหตุแล้วจำเลยได้ออกมาจากที่เกิดเหตุฆาตกรรมมีผู้ดเดินตามจำเลยออกมาและชี้บอกแก่ตำรวจให้จับจำเลยเป็นคนแทงผู้ตาย  คำของตำรวจเป็นพยานชั้นหนึ่งไม่ใช่พยานบอกเล่าเพราะคำบอกเล่าของผู้ที่ตามจำเลยออกมานั้นเป็นคำบอกเล่าในขณะที่กระชั้นชิดทันทีซึ่งตามธรรมชาติยังไม่ทันมีช่องโอกาสแกล้งปรักปรำ  ศาลรับฟังประกอบพฤติเหตุอื่นๆลงโทษจำเลยได้
        ฎีกาที่ 308/2510  ผู้ตายคิดว่าตนเองจะยังไม่ตายได้บอกกำนันระบุชื่อจำเลยว่าเป็นคนร้ายที่ยงิตนโดยไม่ปรากฏว่าในขณะนั้นผู้ตายมีสติฟั่นเฟือนเพราะความเจ็บปวดหรือสำคัญผิดในตัวคนร้ายหรือคาดคะเนคนร้ายโดยพลการแต่ประการใด  คำบอกเล่าเช่นนี้รับฟังได้ในฐานะเป็นคำบอกกล่าวในเวลากระชั้นชิดกับเหตุการณ์ที่ยังไม่มีโอกาสที่ผู้บอกเล่าจะคิดใส่ความได้ทัน  เป็นพฤติการณ์ประกอบพยานโจทก์นำไปสู่การติดตามรู้ตัวผู้กระทำผิดและได้พยานหลักฐานอื่น(ฎีกานี้ ผู้ตายไม่คิดว่าตนเองจะตาย  ทำให้คำบอกเล่าของเขาไม่เข้าข้อยกเว้นเรื่องคำบอกเล่าในขณะที่รู้ตัวว่าใกล้จะตาย)
      ฎีกาที่  4418/2533  คำให้การรับสารภาพของจำเลยโดยสมัครใจในชั้นสอบสวนและนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพนั้น ศาลรับฟังประกอบคำเบิกความของบิดาผู้เสียหายซึ่งได้รับฟังคำบอกเล่าของผู้เสียหายในโอกาสแรกที่พบกันหังเกิดเหตุและมีสาระสำคัญตรงกัน ลงโทษจำเลยฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงได้
ประเด็นที่ 2  หลักการห้ามรับฟังพยานบอกเล่า
                ให้ดูมาตรา           85 , 86   ,87 , 93 , 94 , 95

          มาตรา 85  คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด  มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐาน
            มาตรา 86  เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ก็ดี หรือเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐานนั้นไว้
            เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น ให้ศาลมีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรือพยานหลักฐานอื่นต่อไป
            เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ
            มาตรา 87  ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่
            (1) พยานหลักฐานนั้นเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบ และ
            (2) คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานหลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 และ 90 แต่ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้

            มาตรา 93  การอ้างเอกสารเป็นพยานนั้นให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่
            (1) เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว จึงให้ศาลยอมรับฟังสำเนาเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารนั้นได้
            (2) ถ้าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้ เพราะสูญหาย หรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
            (3) ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการนั้น จะนำมาแสดงได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตของรัฐมนตรี หัวหน้ากรม  กอง หัวหน้าแผนกหรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่งนั้น  ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีเสียก่อนอนึ่ง นอกจากศาลจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น สำเนาเอกสาร หรือข้อความที่คัดจากเอกสารเหล่านั้น ซึ่งรัฐมนตรี หัวหน้ากรม กอง หัวหน้าแผนกหรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่งนั้น  ได้รับรองถูกต้องแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพียงพอในการที่จะนำมาแสดง
            มาตรา 94  เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
            () ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง
            () ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก
            แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2) แห่งมาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด
            มาตรา 95  ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่บุคคลนั้น
            (1) สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ และ
            (2) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง แต่ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งของศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น
            ถ้าศาลไม่ยอมรับไว้ซึ่งคำเบิกความของบุคคลใด เพราะเห็นว่าบุคคลนั้นจะเป็นพยานหรือให้การดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องร้องคัดค้านก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดรายงานระบุนามพยาน เหตุผลที่ไม่ยอมรับและข้อคัดค้านของคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ ส่วนเหตุผลที่คู่ความฝ่ายคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้น ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงานหรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำแถลงต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน

Ø   ระบบคอมมอนลอร์การนำพยานเข้าสู่ศาลและการใช้พยานในการวินิจฉัยคดีมีขั้นตอนที่สำคัญ 2  ขั้นตอนคือ
                ขั้นตอนแรก  เป็นการวินิจฉัยว่า  พยานหลักฐานนั้นจะรับฟังได้หรือไม่(ADISSIBILITY)
                ขั้นตอนที่สอง  การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
สรุป  การห้ามมิให้รับฟัง ตามมาตรา  86,87,93,94,95   ไม่ได้หมายความว่า ห้ามรับฟังโดยเด็ดขาด  แต่ศาลมีดุลพินิจที่จะนำพยานมาประเมินหรือชั่งน้ำหนักได้  แต่ต้องให้น้ำหนักน้อยกว่าพยานที่รับฟังได้
               
                ฎีกาที่  3825/2524        คำให้การของพยานในชั้นสอบสวนเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่จะนำมาประกอบการวินิจฉัยในการรับฟังเกี่ยวกับข้อเท็จจริงแห่งพฤติการณ์  และการกระทำทั้งหลายนั้นได้  ไม่มีบทบัญญัติกม.ใดห้ามไว้โดยเด็ดขาด(.3620/2524)
                ฎีกาที่  2957/2532     คำให้การของผู้รู้เห็นเหตุการณ์ในชั้นสอบสวนไม่มีกม.บัญญัติมิให้รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น ดังนั้น  ศาลรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของพยานดังกล่าวประกอบพยานหลักฐานอื่นและพฤติการณ์ในคดีลงโทษจำเลยได้
                               
ประเด็นที่ 3  ข้อยกเว้นในการรับฟังพยานบอกเล่า
            ตามมาตรา  95(2)  ตอนท้ายได้บัญญัติว่า  แต่ความข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกม.โดยชัดแจ้งหรือคำสั่งศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น
                ความข้อนี้ก็คือบทบัญญัติที่ห้ามรับฟังพยานบุคคลเว้นแต่  จะเป็นผู้ที่ได้เห็น  ได้ยิน  หรือทราบข้อความในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง
                .วิ.อาญามีมาตรา 134  เท่านั้นที่เป็นบทบัญญัติของกม.ที่บัญญัติให้รับฟังพยานบอกเล่าได้

สรุป ข้อยกเว้นในการรับฟังพยานบอกเล่า

ข้อยกเว้นประการแรก คำบอกเล่าที่เป็นคำรับของคู่ความฝ่ายตรงข้าม
            หมายถึง  ข้อความซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งได้บอกเล่า(ด้วยวาจา,ลายลักษณ์อักษร,หรือการสื่อความหมายอย่างใด) ต่อบุคคลอื่น  แล้วคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างบุคคลอื่นนั้นเป็นพยาน
                ฎีกาที่ 1057/2525  โจทก์จำเลยพิพาทกันว่าใครมีสิทธิครอบครองที่พิพาท  ข้อความที่จำเลยเคยกล่าวต่อบุคคลภายนอกว่าจำเลยรับจำนำที่นาพิพาทไว้จากโจทก์  เป็นคำกล่าวที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของตนใช้ยันจำเลยได้  เพราะการที่จำเลยเคยพูดยอมรับว่าตนรับจำนำที่นาไว้จากโจทก์ย่อมเท่ากับจำเลยยอมรับว่าตนไม่ใช่เจ้าของ  เพราะเจ้าของจะรับจำนำทรัพย์ของตนเองไม่ได้  ดังนั้น  พยานบุคคลปากนี้จึงมีประโยชน์แก่ฝ่ายโจทก์ที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของที่พิพาท
                ฎีกาที่  1819/2532  จำเลยยอมรับต่อเจ้าพนักงานตำรวจที่กรมตำรวจว่าจำเลยเป็นผู้แก้ไขตำแหน่งและเลขประจำตำแหน่งในบันทึกขอบรรจุข้าราชการตำรวจ  ซึ่งผู้บังคับบัญชาของจำเลยเคยเสนอแต่งตั้งจำเลยให้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น  คำบอกเล่าเช่นนี้ ทำให้ตนเสียเปรียบหรือเสียประโยชน์สามารถรับฟังได้

ข้อยกเว้นข้อที่ 2  คำบอกเล่าของบุคคลซึ่งตายไปแล้ว
                หมายความว่าเป็นคำบอกเล่าหรือเป็นคำกล่าวซึ่งบุคคลคนหนึ่งได้บอกเล่าไว้แก่บุคคลอื่นอาจจะด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรแล้วต่อมาผู้บอกเล่าถึงแก่ความตายก่อนที่จะเข้าเบิกความเป็นพยาน

เงื่อนไขที่จะรับฟังคำบอกเล่าของบุคคลที่ตายไปแล้ว  มีหลายกรณีด้วยกันดังนี้
                ()        คำบอกเล่าที่ปรปักษ์ต่อผลประโยชน์ของตน
                                ที่รับฟังได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีมูลเหตุจูงใจที่จะกล่าวเท็จให้ตรงเองเสียประโยชน์  แต่บุคคลอาจจะกล่าวเท็จให้ตัวเองได้ประโยชน์ได้
                ()        คำบอกเล่าที่ทำในหน้าที่การงาน
                        หมายถึงคำบอกเล่าหรือคำกล่าวของบุคคลซึ่งทำขึ้นในหน้าที่การงานของเขาและต่อมาผู้บอกเล่าถึงแก่ความตาย  โดยมีเงื่อนไขสำคัญ 3  ประการ
                2.1  เป็นคำบอกเล่าเกี่ยวกับกิจการซึ่งผู้บอกเล่ากระทำอยู่เป็นปกติ
                2.2  ผู้บอกเล่าจะต้องมีหน้าที่ในการบอกเล่าหรือทำบันทึกนั้น
                2.3  คำบอกเล่านั้นทำขึ้นในระยะใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
               
                ()        คำบอกเล่าเกี่ยวกับสิทธิสาธารณะหรือสิทธิที่ประชาชนมีอยู่ร่วมกัน
            สิทธิสาธารณะหมายถึงสิทธิที่ประชาชนมีอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
                สิทธิที่ประชาชนมีอยู่ร่วมกันหมายถึง  ทรัพย์สินนั้นอาจจะไม่ใช่สาธารณสมบัติแผ่นดินแต่เป็นทรัพย์สินที่เป็นส่วนกลางและประชาชนสามารถเข้าไปใช้สอยได้ร่วมกันเช่น ที่ดินของวัด ศาลาประชาคม  ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน ส่วนมากคำบอกเล่าประเภทนี้จะเป็นคำบอกเล่าเกี่ยวกับเขตของที่วัดหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินว่ามีอาณาเขตอย่างไร(.1758-9/2516,863-5/2519)
                ฎีกาที่ 863-5/2519  กรมศิลปากรเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยหลายคนที่เข้ามาอยู่ในเขตวัดศรีดอนคำ  จังหวัดแพร่  กรมศิลปากร  ได้นำสืบตำนานพระธาตุร่องอ้อซึ่งในตำนานดังกล่าวได้กล่าวถึงวัดห้วยอ้อซึ่งศร้างมาตั้งแต่โบราณกาลแล้วต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีดอนคำ  ตำนานนี้เขียนขึ้นเมื่อประมาณ 2403  โดยคัดลอกจากตำนานเดิมซึ่งเก็บอยู่  ณ หอพระแก้ว จังหวัดเชียงใหม่  โดยตำนานได้พูดถึงอาณาเขตของวัดห้วยอ้อ  นอกจากนี้  กรมศิลปากรยังนำสืบพยานบุคคลซึ่งรับฟังเรื่องต่อๆกันมาและรู้ถึงบันทึกและการจัดทำตำนานด้วย ศาลฎีกาจึงเชื่อว่าวัดห้วยอ้อมีอาณาเขตตามที่บันทึกไว้ในตำนานนั้นจริง
                ()        คำบอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องเครือญาติวงศ์ตระกูล
            หมายถึงคำบอกเล่าเกี่ยวกับความเป็นญาติในวงศ์ตระกูลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งได้มีการบอกเล่ากันไว้ก่อนที่จะเกิดกรณีพิพาทและต่อมาผู้บอกเล่าถึงแก่ความตาย  หรือไม่สามารถนำตัวมาเป็นพยานได้

                ()        คำบอกเล่าของบุคคลที่รู้สึกว่ากำลังจะตาย
            คำบอกเล่าถึงสาเหตุ  พฤติการณ์ของการถูกทำร้ายซึ่งผู้ถูกทำร้ายเล่าให้ผู้อื่นฟัง  โดยอาจจะเป็นการระบุนามคนร้าย  สาเหตุแห่งการร้าย  พฤติการณ์ในการทำร้ายซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานที่ใช้ในคดีอาญาในความผิดต่อชีวิต  เงื่อนไขสำคัญของการรับฟังพยานประเภทนี้คือ ต้องปรากฏว่าข้อเท็จจริงว่าผู้บอกเล่ารู้สึกตัวว่ากำลังจะตายในขณะที่บอกเล่า
                เหตุผลเพราะคำพูดทั้งหลายที่เขาพูดในตอนนั้นถือได้ว่าเป็นการพูดภายใต้สถานการณ์อันศักดิ์สิทธิ์เสมือนการสาบานเพราะคนที่กำลังจะตายคงจะไม่กล่าวเท็จให้เป็นบาปกรรมติดตัวต่อไป
(.411/2513,314/2515,2414/2515,1612/2537)
                ฎีกาที่ 314/2515  ผู้ตายถูกยิงที่หน้าอกและแขนยังไม่ตายทันที  แต่ร้องว่าปวดแขนเหลือเกินและพูดต่อหน้าพยานโดยระบุชื่อจำเลยว่าเป็นคนทำร้าย  มีคนหามไปลงเรือแล้วยังพูดอีกว่าคงจะต้องตายแน่  คำพูดของผู้ตายที่ระบุว่าจำเลยเป็นคนร้ายนั้นรับฟังได้

                ฎีกาที่  1612/2537  คำบอกเล่าของผู้ตายที่บอกกับภริยาขณะที่พยานเข้าไปช่วยห้ามเลือดที่คอของผู้ตายว่าจำเลยทั้งสามเป็นผู้ทำร้ายนั้น  ในขณะบอกเล่าผู้ตายยังรู้สึกตัวและไม่คิดว่าตัวเองจะตาย  คำบอกเล่าจึงไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟัง

                ()        คำบอกเล่าของเจ้ามรดกในเรื่องพินัยกรรม
                เป็นข้อยกเว้นในกม.คอมมอนลอร์  ยังไม่มีบรรทัดฐานในกม.ไทย
                ()        คำเบิกความของพยานในคดีก่อนหรือในกระบวนพิจารณาครั้งก่อนในคดีเดียวกัน
            หมายถึงเป็นคำเบิกความของบุคคลที่เคยเป็นพยานในศาลมาแล้วครั้งหนึ่งอาจเป็นคดีเดียวกันหรือคนละคดีกับคดีในปัจจุบันก็ได้  แต่ปรากฏว่าก่อนที่พยานจะเข้าเบิกความในคดีหลังพยานถงแก่ความตายไปเสียก่อน
                ฎีกาที่ 1781/2522  คดีที่ผู้เสียหายในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราให้การในชั้นสอบสวน  แต่โจทก์นำมาเบิกความในชั้นศาลไม่ได้  เพราะว่าหายไปจากบ้านหาตัวไม่พบ  ศาลสามารถรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายประกอบพยานโจทก์และคำรับของจำเลยในชั้นสอบสวนลงโทษจำเลยได้

ข้อยกเว้นประการที่ 3 ข้อความในเอกสารมหาชน
.วิ.แพ่งมาตรา  127  เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรอง  หรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น  และเอกสารเอกชนที่มีคำพิพากษาแสดงว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง  เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร

เอกสารมหาชนมีลักษณะสำคัญ 3  ประการคือ
1.       เป็นเอกสารซึ่งทำขึ้นหรือรับรองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่
2.       ข้อความในเอกสารนั้นเป็นเรื่องที่พาดพิงถึงประชาชน  ไม่ใช่ข้อมูลเฉพาะภายในวงราชการ
3.       ประชาชนมีสิทธิที่จะเข้าถึง  ตรวจสอบ  ใช้  อ้างอิงเอกสารนั้นได้


ข้อยกเว้นประการที่ 4 กิติศัพท์หรือข้อเท็จจริงที่เล่าลือกันทั่วไป
                ตามระบบกม.คอมมอนลอร์ จะมี 3  เรื่องที่รับฟังพยานหลักฐานลักษณะนี้
·        ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชีวประวัติของบุคคลหรือครอบครัว
·        ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิสาธารณะหรือจารีตประเพณีท้องถิ่น
·        ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคลิกของบุคคลในชุมชนซึ่งเป็นลักษณะเด่น
ข้อยกเว้นประการที่ 5  คำพิพากษาในคดีเรื่องก่อน
                .วิ.แพ่งมาตรา 145(1)(2)
                .วิ.อาญามาตรา 46
ข้อยกเว้นประการที่ 6  คำพยานในคดีเรื่องก่อน
                หมายถึงคำเบิกความของพยานในคดีอื่นที่ศาลจดบันทึกไว้
                ปกติศาลในคดีปัจจุบันนั้นจะไม่รับฟังคำเบิกความของพยานที่มีการบันทึกในคดีเรื่องอื่น  แต่มีข้อยกเว้น จะรับฟังได้ในคดีแพ่งและคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันยอมให้ศาลถือเอาคำเบิกความในคดีเรื่องอื่นมาเป็นพยานในคดีปัจจุบันได้(.1351/2505,1043/2531)

ข้อยกเว้นประการที่ 7  คำให้การของพยานในครั้งก่อน
                หมายถึงคำบอกเล่าของพยานต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  ไม่ว่าจะเป็นคำบอกเล่าที่ทำไว้ต่อศาลในคดีอื่น  ต่อเจ้าพนักงานหรือต่อบุคคลธรรมดา แล้วต่อมาผู้บอกเล่าได้มาเป็นพยานเบิกความในศาลเกี่ยวกับเรื่องที่เคยบอกเล่าไว้นั้น  เช่น  คำให้การของพยานในชั้นสอบสวนหรือคำให้การของพยานต่อคณะกรรมการสอบสวนของทางราชการหรือจดหมายที่พยานเขียนไปถึงบุคคลอื่น(.1937/2522,1189/2523,63/2533)
                ฎีกาที่ 63/2533  ในชั้นสอบสวนพยานโจทก์ทั้งสองคนให้การว่าพยานอยู่ในเหตุการณ์และยืนยันว่าจำเลยเป็นคนใช้อาวุธปืนสั้นยิงผู้เสียหาย แม้คำให้การในชั้นสอบสวนจะเป็นเพียงพยานบอกเล่าและในชั้นศาลพยานทั้งสองปากเบิกความบ่ายเบี่ยงเป็นทำนองช่วยเหลือจำเลย  แต่คำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าวพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในวันรุ่งขึ้นจากวันเกิดเหตุอันถือได้ว่าเป็นระยะเวลากระชั้นชิดกับเวลเกิดเหตุ  พยานยังไม่น่าจะทันมีโอกาสไตร่ตรองเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น  และคำให้การดังกล่าวก็สอดคล้องกับคำเบิกความผู้เสียหายจึงรับฟังประกอบคำของผู้เสียหายได้





หลักการรับฟังพยานเอกสาร(เป็นประเด็นที่สำคัญต้องทำความเข้าใจ)

พยานเอกสารหมายถึง
            ข้อความใดๆในเอกสารที่มีการอ้างอิงเป็นพยานโดยอาศัยการสื่อความหมายของข้อความในเอกสารนั้นเพื่อพิสูจน์ความจริง

เอกสาร  มีนิยามใน ปอ.
            เอกสารจะประกอบด้วย  2  ส่วนคือ
·        วัตถุรองรับ
·        เครื่องหมาย  ข้อความหรือสัญญลักษณ์ที่เป็นการสือความหมายที่ปรากฏอยู่บนวัตถุที่รองรับ
พยานเอกสาร หมายถึง  การใช้ข้อความ  สัญญลักษณ์ที่อยู่บนวัตถุรองรับเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง  โดยพิสูจน์ว่ามีเหตุการณ์หรือมีข้อเท็จจริงเกิดขึ้นตามที่มีการบันทึกไว้ในเอกสารนั้น
               
หลักสำคัญการอ้างพยานเอกสารตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 93
                มาตรา 93  การอ้างเอกสารเป็นพยานนั้นให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น  เว้นแต่
            (1)        เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว จึงให้ศาลยอมรับฟังสำเนาเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารนั้นได้
            (2)        ถ้าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้ เพราะสูญหาย  หรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น  ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
            (3)        ต้นฉบับเอกสารอยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการนั้น  จะนำมาแสดงได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตของรัฐมนตรี  หัวหน้ากรม กอง  หัวหน้าแผนกหรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่งนั้นๆ  ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีเสียก่อน  อนึ่ง  นอกจากศาลจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น  สำเนาเอกสารหรือข้อความที่คัดจากเอกสารเหล่านั้น  ซึ่งรัฐมนตรี  หัวหน้ากรม  กอง  หัวหน้าแผนกหรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่งนั้นๆได้รับรองถูกต้องแล้ว  ให้ถือว่าเป็นอันเพียงพอในการที่จะนำมาแสดง

สรุป 
·        ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงด้วยพยานเอกสารจะต้องอ้างเอกสารที่เป็นต้นฉบับ(.วิ.แพ่งมาตรา 93  หลักการจะตรงกับ ป.วิ.อาญามาตรา 238)
·        การอ้างต้นฉบับเอกสารกับการนำสืบต้นฉบับเอกสาร  เป็นคนละขั้นตอนกัน
·        การอ้างเป็นการแสดงความประสงค์ที่จะนำสืบว่าต้องการจะนำสืบพยานชิ้นใด  ทั้งนี้  การอ้างนั้น  จะแสดงออกได้โดยการระบุในบัญชีระบุพยาน
·        พยานเอกสาร  เอกสารที่เป็นต้นฉบับกับสำเนาเอกสารในทางปฎิบัติถือว่าเป็นพยานคนละชิ้น  เพราะฉะนั้น  คู่ความจะต้องอ้างให้ชัดเจนว่าประสงค์จะอ้างต้นฉบับหรือสำเนา
·        กม.บัญญัติว่าให้ยอมรับฟังแต่ต้นฉบับเท่านั้น  โดยปกติก็ต้องอ้างต้นฉบับและนำสืบด้วยต้นฉบับเอกสาร  เว้นแต่บางกรณีที่กม.ยกเว้นให้รับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานได้โดยไม่ต้องอ้างต้นฉบับ  ก็อาจอ้างสำเนาในบัญชีระบุพยานเลย

ต้นฉบับ  หมายถึง  เอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นครั้งแรก
สำเนา  หมายถึง  การทำซ้ำจากต้นฉบับ
                ประเด็นที่ว่าการทำเอกสารโดยมีคู่ฉบับหลายๆฉบับ  โดยการใช้กระดาษคาร์บอนคั่น  ถือว่าทั้งสองเป็นต้นฉบับ(.4529/2541)
                ฎีกาที่  4529/2541  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่โจทก์จำเลยทำเอกสารสัญญาซื้อขายโดยใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลางเมื่อเขียนและลงชื่อแล้ง  จึงมอบฉบับล่างให้โจทก์  โดยคู่กรณีถือว่าฉบับล่างเป็นหนังสือสัญญาเช่นเดียวกับฉบับบน  ส่วนฉบับบนจำเลยเก็บไว้  การทำเอกสารลักษณะเช่นนี้เห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าประสงค์จะให้ถือเอาเอกสารฉบับล่างเป็นคู่ฉบับของเอกสารฉบับบนไม่ถือว่าเอกสารฉบับล่างเป็นสำเนาเพราะไม่ใช่ข้อความที่คัดลอกหรือถ่ายเอกสารมาจากต้นบับ  แต่ทำขึ้นพร้อมกับเอกสารฉบับบนหรือต้นฉบับเพื่อใช้เป็นหนังสือสัญญาสองฉบับ จึงมีผลเท่ากับเป็นต้นฉบับ  ดังนั้น  เมื่อไม่เป็นสำเนาเอกสารแล้วก็ไม่ต้องห้ามที่ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐาน
                ฎีกาที่  254/2520  สำเนาเอกสารที่จำเลยส่งเป็นพยานต่อศาลแต่ไม่ได้ส่งสำเนาให้โจทก์และไม่ได้เรียกต้นฉบับจากผู้ครอบครองเอกสารมา  รับฟังเป็นพยานไม่ได้ตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 93(กรณีนี้ยังมีต้นฉบับอยู่  เพราะฉะนั้น  การอ้างอิงจะต้องอ้างอิงต้นฉบับแต่ต้นฉบับอยู่ที่บุคคลอื่น  ซึ่งในการนำสืบผู้อ้างจะต้องหาทางนำต้นฉบับนั้นมาสู่ศาลโดยให้ศาลออกหมายเรียกมา)
                ฎีกาที่  2453/2523  ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์โดยอาศัยเอกสารหมายเลข  .8 เป็นพยาน(เอกสารหมาย จ.8 นี้เป็นสำเนาภาพเอกสาร)  เมื่อจำเลยไม่ได้ตกลงด้วยว่าสำเนาเอกสารนี้ถูกต้องจึงไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้  และเมื่อเอกสารนี้ต้องห้ามรับฟังเสียแล้ว ก็ไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่จะวินิจฉัยให้จำเลยรับผิดชดใช้โจทก์อีก
                ฎีกาที่  5963/2539  การส่งเอกสารด้วยวิธีโทรสารเป็นวิทยาการแบบใหม่  เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไปว่าผู้ส่งจะนำต้นฉบับของเอกสารที่จะทำการส่งให้ในเครื่องโทรสารแล้วจัดการส่งไปยังเครื่องโทรสารของผู้รับโดยต้นฉบับผู้ส่งจะเป็นผู้เก็บไว้  โทรสารที่โจทก์จำเลยยอมรับความถูกต้องแล้วจึงรับฟังได้(.3395/2542  วินิจฉัยทำนองเดียวกัน)

ข้อยกเว้นซึ่งกม.ยอมให้อ้างสำเนาเอกสารเป็นพยานได้ตามมาตรา 93  .วิ.แพ่ง
            หมายความว่า  คู่ความที่จะนำสืบสามารถที่จะแสดงความประสงค์ที่จะนำสืบสำเนาเอกสารได้และสำเนาเอกสารที่อ้างอิงนั้น  สามารถที่จะรับฟังได้
                กรณีที่  1 เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้อง ก็ให้ศาลรับฟังสำเนานั้นเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารนั้นได้
            ฎีกาที่  2295/2543  เอกสารหมาย  .1  ถึง ล.7  และ ล.12 เป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลยระบุถึงความชำรุดบกพร่องของรองเท้าพิพาทและการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย  เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับการที่โจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ตรงตามแบบที่จำเลยกำหนด  จึงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะกันระหว่างคู่ความ  แม้จำเลยจะไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 90  แต่จำเลยก็ได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์  โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งดังกล่าวได้  การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม  ศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87(2)
                สรุปฎีกานี้  โจทก์ไม่ได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร  คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์  จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้อง  ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
                ฎีกาที่  4861/2543  จำเลยเบิกความยอมรับว่าเป็นผู้เขียนข้อความทั้งสองทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  รวมทั้งเป็นผู้วาดแผนที่ไว้ในสำเนาแบบแสดงรายการที่ดินและโจทก์ก็ยอมรับไม่ได้เถียงความไม่ถูกต้องเช่นกัน  ต้องถือว่าคู่ความทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว  เอกสารนั้น  จึงสามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารได้   คดีนี้เข้ามาตรา  93(1)  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าทั้งโจทก์และจำเลยไม่มีใครโต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริง ก็ต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้อตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว
            กรณีที่ 2  ถ้าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น  ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
            กรณีที่ 2  มีประเด็น 3  ประเด็นคือถ้าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้เพราะ
·        สูญหาย:เอกสารนั้นหาไม่พบ  ไม่ปรากฏว่าอยู่ที่ใด  ไม่อยู่ในที่ที่จัดเก็บและไม่ทราบว่าไปอยู่ที่ใด
·        ถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย:มีการทำให้สูญสิ้นไปหรือแม้แต่ทำให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้ก็เป็นการทำลาย
·        ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น
สูญหาย  ไม่จำเป็นต้องเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย
·        สูญหายเพราะความประมาทเลินเล่อของผู้ครอบครองเอกสาร  ศาลก็รับฟังพยานบุคคลได้(.693/2487)
·        หนังสือกู้หายไป  ผู้ให้กู้สามารถนำผู้เขียนสัญญาและผู้ลงชื่อเป็นพยานมาสืบแทนได้(.34/2476)
·        ถูกโจรปล้นสัญญากู้ไป  ฟ้องและพิสูจน์ด้วยพยานบุคคลได้(.354/2470)
ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น
·        หมายความว่ามีอุปสรรคขัดข้องไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยที่ต้นฉบับไม่ได้สูญหายหรือไม่ได้ถูกทำลาย
·        โจทก์ระบุพยานอ้างสัญญาก่อนสมรสเป็นพยานหลักฐาน  โจทกืนำส่งต้นฉบับต่อศาลไม่ได้เนื่องจากโจทก์ส่งต้นฉบับไว้ที่ศาลอื่นในคดีเรื่องหนึ่ง  ดังนี้  โจทก์นำสำเนาสัญญาก่อนสมรสมาสืบแทนได้(.574/2508)
·        โจทก์ฟ้องอ้างสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยว่ามีหลักฐานเป็นหนังสืออยู่อำเภอ  โจทก์ไม่ได้รับว่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ  ฉะนั้น  จึงไม่ห้ามศาลที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา  โจทก์ขออ้างหนังสือดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาในภายหลังได้  เมื่ออำเภอแจ้งมายังศาลว่าสัญญาประนีประนอมยอมความหาไม่พบเนื่องจากเป็นเวลานานมาแล้ว  และมีการย้ายที่ว่าการอำเภอไม่อาจนำส่งได้  ย่อมถือได้ว่าเอกสารที่โจทก์อ้างสูญหาย เมื่อโจทก์อ้างพยานบุคคลและศาลยอมให้นำพยานบุคคลเข้าสืบแทน  ก็ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วโดยปริยาย  ศาลรับฟังพยานบุคคลของโจทก์ได้(.727/2513)
·        ผู้ร้องนำสืบแสดงสำเนาคำสั่งที่มอบอำนาจให้ผ้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการต่อศาล  ผู้คัดค้านไม่ได้นำสืบโต้แย้งว่าผู้ร้องไม่ได้ส่งต้นฉบับคำสั่งแต่อย่างใด  เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังพยานตามสำเนาเอกสารดังกล่าวถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีทีไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ด้วยประการอื่นตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 93(2) แล้ว  โดยผู้ร้องไม่จำต้องขออนุญาตต่อศาลก่อนและการที่ ส.หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตมาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจตามสำเนาคำสั่งจากผู้ร้องก็เป็นอันเพียงพอให้รับฟังได้โดยไม่จำต้องนำตัวผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจมาสืบถึงการออกคำสั่งดังกล่าวถึง(.6061/2541)
·        การที่ศาลจะอนุญาตให้นำพยานบุคคลมาสืบแทนต้นฉบับที่สูญหายตามมาตรา 93(2)  นั้นหาได้มีบทบัญญัติบังคับว่าต้องนำพยานบุคคลผู้รักษาต้นฉบับเอกสารมาสืบไม่  พยานบุคคลใดๆที่ร้เห็นหรือทราบความสูญหายแห่งต้นฉบับนั้นสามารถนำสืบได้ ฉะนั้น การที่โจทก์นำผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ผู้สร้างความสูญหายแห่งต้นฉบับเอกสารมาเบิกความยืนยันว่าหนังสือกู้ยืมหายไปเพราะโจทก์เก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบและเกิดน้ำท่วมภูมิลำเนาที่อยู่ของโจทก์ย่อมเป็นการเพียงพอให้รับฟังได้ว่าหนังสือดังกล่าวได้สูญหายไปจริงและโจทก์ชอบที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้โดยไม่จำเนต้องมีหนังสือกู้ยืมมาแสดงต่อศาล(.6048/2541 น่าสนใจ)
·        ปัญหาว่า  การที่คู่ความจะนำสืบสำเนามาสืบแทนต้นฉบับ หรือนำพยานบุคคลมาสืบแทนต้นฉบับตามมาตรา 93(2)  คู่ความไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างในคำฟ้องหรือคำให้การ(.313/2512)

ข้อยกเว้นข้อที่ 3  ถ้าต้นฉบับเอกสารอยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการ
                ส่วนราชการได้แก่ราชการส่วนกลาง  และราชการส่วนภูมิภาค  ไม่คลุมไปถึงรัฐวิสาหกิจและราชการส่วนท้องถิ่น
·        ในคดีอาญา  จำเลยอ้างเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลย  และโจทก์ไม่รับรองความถูกต้อง  เมื่อจำเลยไม่สืบพยานประกอบ  พยานเอกสารนั้นก็รับฟังไม่ได้  แต่ถ้าพยานเอกสารนั้นเป็นหนังสือราชการ  ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของทางราชการและที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลเป็นสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่ตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 93(3)  รับรองความถูกต้อง  ก็รับฟังได้  ไม่ต้องสืบพยานประกอบ(.1322-4/2510)
·        สำเนาของเอกสารมหาชน  ซึ่งเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบในการทำหรือเก็บรักษาได้รีบรองความถูกต้อง  ย่อมใช้เป็นพยานได้ ไม่ต้องอ้างต้นฉบับ(.484/2486,120/2499,536/2501,225/2518)


ในคดีอาญามีหลักการทำนองมาตรา 93  .วิแพ่งนั้นคือมาตรา  238 
มาตรา 238  ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานได้  ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้  สำเนาที่รับรองว่าถูกต้องหรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความก็อ้างเป็นพยานได้
        ถ้าอ้างหนังสือราชการเป็นพยาน  แม้ต้นฉบับยังมีอยู่จะส่งสำเนาที่เจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้องก็ได้  เว้นแต่ในหมายเรียกจะบ่งไว้เป็นอย่างอื่น

·        จำเลยอ้างต้นฉบับรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันของสถานีตำรวจเป็นพยานชั้นศาลเพื่อประกอบข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำเลยถูกจับอยู่ที่สถานีตำรวจตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุเรื่อยมาจนถึงวันเกิดเหตุ  แต่ผู้บังคับกองตำรวจคัดสำเนาส่งมาโดยรับรองว่าเป็นสำนวนอันแท้จริง  ดังนี้  เมื่อโจทก์ไม่ได้คัดค้านว่าเจ้าหน้าที่คัดสำเนาผิดจากต้นฉบับ  ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานลักฐานได้(.1719/2494)
·        สำเนารายงานของสารวัตรตรวจท่าเรือในต่างประเทศซึ่งรายงานว่ามีเรือลำใดเข้าออกจากท่าเมื่อใด  เมื่อปรากฏว่าสำเนารายวานนั้นมีผู้รับรองว่าเป็นสำเนาอันถูกต้อง  ทั้งกงสุลใหญ่ของไทยในเมืองต่างประเทศนั้นก็เป็นผู้นำส่งเอกสารนั้นมาในทางราชการ  อันเป็นการรับรองอยู่ในตัวว่าเป็นสำเนาถูกต้องเช่นนี้ย่อมรับฟังพยานหลักฐานนั้นได้ตามมาตรา 238(.1868-9/2494)
·        ในคดีอาญาจำเลยอ้างเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยและโจทก์ไม่รับรองความถูกต้อง  เมื่อจำเลยไม่สืบพยานประกอบพยานเอกสารนั้นก็รับฟังไม่ได้  แต่ถ้าพยานเอกสารนั้นเป็นหนังสือราชการต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของทางราชการ  และที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลเป็นสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องก็รับฟังได้ไม่ต้องสืบพยานประกอบ(.1322-4/2510)
·        โจทก์ระบุคำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์แล้ว  ในขณะที่พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นพยานโจทก์เข้าเบิกความ  โจทก์จึงส่งคำให้การจำเลยชั้นสอบสวนนี้ต่อศาลประกอบคำพยาน  ศาลได้ให้ตัวจำเลยตรวจดูแล้ว  ดังนี้   จึงรับคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยดังกล่าวไว้เป็นพยานหลักฐานได้ ไม่จำต้องคัดสำเนาให้จำเลยก่อนวันพิจารณา  เพียงแต่ให้จำเลยดู  หรืออ่านให้ฟังก็พอแล้ว(.1068/2496)


 การรับฟังพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือหักล้างพยานเอกสารตาม  .วิ.แพ่งมาตรา  94
แนวคิด-เหตุผลของกม. 
1.บทตัดพยานหรือห้ามรับฟังพยานตาม  .วิ.แพ่งมาตรา 94  เป็นหลัก กม.ปิดปากตามหลักกม.อังกฤษ  เพื่อให้สอดคล้องกับกม.สารบัญญัติว่าด้วยแบบและหลักฐานแห่งนิติกรรมสัญญา(ไทย)การรับสภาพหนี้ไม่มีกม.บัญญัติบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง(.666/2541,1156/2537)
2.เพื่อให้เกิดความแน่นอนแก่นิติกรรมสัญญาที่ได้ทำกันไว้เป็นหนังสือ(อังกฤษ)

มาตรา  94  เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง  ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้  แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
            ()  ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร   เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง
            ()  ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง  เมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า  ยังมีข้อความเพิ่มเติม  ตัดทอน   หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก
            แต่บทบัญญัติแห่งมาตรานี้  มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา  (2)  แห่งมาตรา  93  และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า  พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด  หรือแต่บางส่วน  หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด

ในการพิจารณาแบ่งประเด็นการพิจารณาเป็น  3  ประเด็นใหญ่  ดังนี้
ประเด็นที่  1  กรณีใดบ้างที่ห้ามสืบพยานบุคคล
ประเด็นที่  2  เนื้อหาสาระของการห้ามสืบพยานบุคคล
ประเด็นที่ 3  มีกรณีใดบ้างที่ยกเว้นให้สืบพยานบุคคลได้

1 comment:

  1. Wynn Casino & Resort - Mapyro
    The 포항 출장샵 Wynn Resort is a luxurious 4-star hotel located in Las Vegas, 문경 출장샵 within a 15-minute drive of LINQ Promenade and 과천 출장샵 Sands Expo 안산 출장마사지 Convention 당진 출장마사지 Center. This 5-star resort

    ReplyDelete